โดย กลุ่มวิจัย LHAASO
(Aharonian, F., et al. 2021, Chinese Phys. C., 45, 025002)
ความสำคัญ: รังสีแกมมาที่พลังงานสูงมาก (มากกว่า 10 TeV) เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่รุนแรงในเอกภาพ เช่น การเร่งอนุภาคของ หลุมดำขนาดมหึมาหรือสนามแม่เหล็กความเข้มมหาศาลของดาวนิวตรอน เครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดของมนุษย์ก็ยังไม่สามารถสร้าง รังสีแกมมาพลังงานสูงกว่า ~10 TeV ได้ การศึกษารังสีแกมมาจากอวกาศในช่วงพลังงานนี้จะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติของวัตถุพิเศษใน จักรวาลได้ดีขึ้น รวมถึงได้ความรู้ทางฟิสิกส์ใหม่ที่ไม่สามารถทำได้จากการศึกษาปรากฏการณ์บนโลก อย่างไรก็ตาม รังสีแกมมาที่ พลังงานสูงระดับนี้มีจำนวนน้อยมาก เครื่องมือวัดต้องมีขนาดใหญ่จึงจะตรวจจับปริมาณรังสีแกมมาให้ได้ปริมาณมากเพียงพอ ทำให้ กลุ่มวิจัยนำโดยประเทศจีน ได้สร้างอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Large High Altitude Air Shower Observatory (LHAASO) ที่มณฑลเสฉวน โดย มีส่วนประกอบที่เรียกว่า KM2A ซึ่งเป็นกลุ่มของเครื่องมือที่กระจายอยู่บนพื้นที่ 1.3 ตารางกิโลเมตร เพื่อใช้ตรวจจับปฏิกิริยาระหว่าง รังสีแกมมากับอากาศ ทั้งนี้กลุ่มวิจัยฟิสิกส์อวกาศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม LHAASO ด้วย
ผลที่ได้: LHAASO เริ่มดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ครั้งแรกในช่วงปลายปี 2019 โดยใช้เครื่องวัดเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของ จำนวนทั้งหมดที่วางแผนไว้ทั้งหมด เป้าหมายหลักของงานชิ้นนี้เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เช่น ความละเอียดเชิงมุม ความแม่นยำของการชี้ตำแหน่ง และความสามารถในการแยกชนิดอนุภาค โดยใช้การสังเกตแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาที่สว่างและเป็น มาตรฐานที่รู้จักกันดี คือ เนบิวลารูปปู (Crab Nebula) ผลที่ได้ทำให้กลุ่มวิจัยประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์เป็นครั้งแรกหลังจาก ปฏิบัติงานจริง เข้าใจความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ อีกทั้งยืนยันการวัดค่าต่าง ๆ ของเนบิวลารูปปูโดย LHAASO ว่าสอดคล้องกับผลจาก อุปกรณ์อื่น ๆ ในย่านพลังงานเดียวกัน