โดย กลุ่มวิจัยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเฟอร์มี (Ajello, M., et al. 2020, ApJ 890, 9)
ความสำคัญ: การระเบิดของรังสีแกมมา เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์พลังงานสูงที่น่าสนใจ เป็นที่ยอมรับว่าการระเบิดที่รุนแรง มหาศาลนี้เกิดในกาแลกซีอื่นอันไกลโพ้น แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร เราคาดว่าอาจจะเป็นการยุบตัวของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ กลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ หรือการชนกันของวัตถุที่มาความหนาแน่นสูงมาก ในงานชิ้นนี้อุปกรณ์ในอวกาศหลายชิ้นได้ตรวจ พบการระเบิดของรังสีแกมมาครั้งใหญ่ ที่คาดว่ามาจากกาแลกซีที่อยู่ห่างไปกว่า 4 พันล้านปีแสง และอาจเป็นการระเบิดที่มีพลังงานสูง ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยพบเห็นมา การศึกษาข้อมูลของการระเบิดนี้จะช่วยให้เราเข้าใจและสร้างแบบจำลองของกลไกในการระเบิดได้ดีขึ้น
ผลที่ได้: เรารายงานการสังเกตการระเบิดรังสีแกมมา GRB 190114C โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเฟอร์มี และ นีลเจอรัลสวิฟท์ รังสี แกมมาที่ถูกปลดปล่อยทันทีหลังการระเบิดถูกตรวจจับได้โดยอุปกรณ์สำหรับแจ้งเตือนที่ติดตั้งอยู่บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศทั้งสอง และการเปล่งแสงค้างเป็นเวลานานหลังการระเบิดก็ถูกสังเกตได้จากทั้งเครื่องวัดรังสีแกมมา รังสีเอกซ์ และรังสีอัลตราไวโอเลตบนกล้อง โทรทรรศน์อวกาศทั้งสองเช่นกัน การสังเกตข้อมูลในช่วงแรกแสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบของการเปล่งที่มีหลายลักษณะและมีการ วิวัฒนาการแยกกัน โดยมีลักษณะพลังงานแบบยกกำลังแบบหน่วงซึ่งมีการลดลงอย่างรวดเร็วที่พลังงานสูงกว่า 40 MeV ในช่วงไม่กี่ วินาทีแรกหลังการระเบิด ส่วนที่มีลักษณะพลังงานแบบยกกำลังนี้ก็ถูกเปลี่ยนเข้าสู่ลักษณะที่เลขชี้กำลังมีค่าที่สูงขึ้น และสอดคล้องกับ การเปล่งรังสีค้างที่ถูกวัดได้ในช่วงคลื่นรังสีเอกซ์ในเวลาต่อมา การเปล่งรังสีค้างนี้ถูกบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนด้วยอุปกรณ์แจ้งเตือนโดยมี ลักษณะเป็นการจางลงอย่างช้าๆ เป็นพื้นหลังของการระเบิดที่รุนแรง ข้อมูลนี้ทำให้เราสามารถแยกช่วงการเปลี่ยนผ่านจากคลื่น กระแทกภายในไปสู่คลื่นกระแทกภายนอกได้ เราพบว่าการวิวัฒนาการเชิงเวลาและพลังงานในช่วงคลื่นกว้างของการเปล่งรังสีค้างนี้ สามารถถูกอธิบายได้ดีจากการเปล่งแบบซินโครตรอนของคลื่นกระแทกที่เคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณที่สสารหมุนวนรอบดาวฤกษ์ เราสามารถ ประมาณค่าคุณสมบัติเชิงปริมาณหลายค่าได้จากการถูกตัดของขอบบนของพลังงาน เวลาเริ่มต้นของการเปล่งรังสีค้าง และอื่นๆ เรายัง พบด้วยว่า มีโฟตอนพลังงานสูงบางอนุภาคในช่วงพลังงานที่เราตรวจวัดได้ ที่ถูกอธิบายได้ยากโดยเชิงทฤษฎีของการเปล่งรังสีแบบ ซินโครตรอนจากคลื่นกระแทก