ชญานินทร์ สารรัตน์, สุทธิเกียรติ ช่างเรือนงาม, อรุณ ชุมแก้ว, อนุวัตน์ วิรัชสุดากุล, วิริชดา ปานงาม, และ ชรินทร์ โหมดชัง
หลักการและเป้าหมาย: โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่สำคัญโรคหนึ่งของประเทศไทย เมื่อคนติดเชื้อแล้วจะมีอัตราการตายสูงถึง 100% จากการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งในคนและสัตว์ ทำให้หลายหน่วยงานให้ความสำคัญกับการควบคุมการระบาดของโรคและมีความพยายามที่จะกำจัดโรคนี้ให้หมดไปจากประเทศไทยให้ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและพลวัตของการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยยังมีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุนัข การศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงได้บูรณาการความรู้ในหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่ออธิบายการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย
สรุป: ผู้วิจัยพบว่าแบบจำลองการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าที่นำเสนอในงานวิจัยนี้ สามารถอธิบายการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ที่ทำการศึกษาได้ดี โดยผู้วิจัยพบว่าการกระจายตัวของอาคารบ้านเรือนและถนนในพื้นที่สามารถส่งผลต่อการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าได้ ดังนั้น มาตรการต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าอาจจำเป็นต้องถูกปรับให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เช่น พื้นที่ที่มีความหนาแน่นของอาคารบ้านเรือนสูงอาจจำเป็นต้องมีระดับความครอบคุมของวัคซีนที่สูงกว่าในพื้นที่อื่น ๆ เป็นต้น
ผลที่ได้: ได้ความเข้าใจลักษณะของการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข และแนวทางในการดำเนินนโยบายป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคที่เหมาะสม
ทุนวิจัยและกิตติกรรมประกาศ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (Grant ID. P-18-51758)
เป้าหมาย SDGs ที่เกี่ยวข้อง: 3. การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง:
Sararat C, Changruenngam S, Chumkaeo A, Wiratsudakul A, Pan-Ngum W, Modchang C. The effects of geographical distributions of buildings and roads on the spatiotemporal spread of canine rabies: An individual-based modeling study. PLOS Neglected Tropical Diseases. 2022;16(5):e0010397.
https://doi.org/10.1371/journal.pntd.0010397