เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ในการออกแบบรูปร่างของท่อนำรับสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่องานวิจัยดาราศาสตร์ โดยการคำนวณการนำคลื่นสัญญาณและการเลือกโครงสร้างที่มีความไวต่อคลื่นสัญญาณที่ต้องการมากที่สุด มีรายละเอียด ดังภาพที่ 1 งานวิจัยเผยแพร่
ของบริษัท Premise biosystems Co.,Ltd. ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
รับผิดชอบในการพัฒนา Application ปัญญาประดิษฐ์ สำหรับใช้วิเคราะห์เซลล์มะเร็งจากภาพถ่าย ที่ได้จากเครื่องถ่ายภาพระบบย้อมสีเซลล์ในตัวอย่างเลือด โดยซอต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถเรียนรู้เซลล์จากภาพถ่ายของตัวอย่างเลือดคนไข้ที่ผ่านการย้อมสีต่างๆ มาจัดกลุ่มในตำแหน่งที่สัมพันธ์กัน จนสามารถวิเคราะห์และระบุการปะปนของเซลล์ที่บ่งชี้มะเร็งและชนิดของมะเร็งได้ รายละเอียด ดังภาพที่ 2
เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดยพัฒนาเครื่องตรวจวัดก๊าซด้วยจมูกอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อวิเคราะห์สารอินทรีย์ระเหยง่ายจากตัวอย่างเลือด ร่วมกับ วิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องตรวจการเปล่งแสงสีย้อมเซลล์จากภาพถ่าย โดยรวมทีมเพื่อจัดตั้งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่มีทีมแพทย์ วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ และ บริษัทเอกชนผู้ร่วมลงทุน
ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัทร่วมทุน (สัญญาเลขที่ RDG6150011)
รับผิดชอบเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างต้นแบบเครื่องคัดกรองมะเร็งจากลมหายใจ
พัฒนาระบบกระตุ้นด้วยอุณหภูมิช่วยเพิ่มความสามารถของเซนเซอร์ให้มีให้มีความไวและความแม่นยำสูงขึ้น สามารถตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายในลมหายใจที่มีความเข้มข้นต่ำ
พัฒนา Application ปัญญาประดิษฐ์ สำหรับคัดกรองโรคมะเร็ง โดยระบบจะเรียนรู้ข้อมูล Big Data บน Cloud server ที่เก็บด้วยอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นนำไปเก็บข้อมูลลมหายใจจากคนปกติ และ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง ในโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งได้ความร่วมมือกับโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี สถาบันมะเร็งแห่งชาติและ บริษัทร่วมทุน โดยซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นจะเรียนรู้ฐานข้อมูลลมหายใจจำนวนมากจนสามารถวิเคราะห์การตอบสนองต่อสารอินทรีย์เหยง่ายเพื่อคัดกรองผู้ป่วย
ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
รับผิดชอบเป็นที่ปรึกษาโครงการ และพัฒนา Application ปัญญาประดิษฐ์ วิเคราะห์การตรวจวัดก๊าซจากเครื่อง Electronic Nose จากสถานีต่างๆ เพื่อคำนวณ ประมวลผล ทำนายทิศทางการแพร่ หาตำแหน่ง ระดับความเข้มข้น ชนิดของก๊าซพิษ การรั่วไหลที่อาจจะเกิดขึ้นภายในนิคมอุตสาหกรรมโดยติดตั้งแม่ข่ายฐานข้อมูลบนระบบ Cloud server มีการจัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่าย 3G ไปยังแม่ข่ายฐานข้อมูล มอนิเตอร์แสดงผลพร้อมแจ้งเตือนแบบ Online Real-time ตลอด 24 ชั่วโมง บน Tablet
ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ บริษัท โตโยต้า จำกัด
รับผิดชอบในการพัฒนา Application ปัญญาประดิษฐ์ ทำหน้าที่วิเคราะห์การตรวจจับก๊าซจากเครื่อง Electronic Nose ที่ติดตั้งตามจุดต่างๆ ภายในโรงงาน ซอฟต์แวร์สามารถมอนิเตอร์ตรวจสอบความผิดปกติ กิจกรรมต่างๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นหรือก๊าซอันตราย พร้อมแจ้งเตือนแหล่งที่มาของการรั่วไหลไอระเหยของสารพิษที่อาจจจะเกิดขึ้นภายในโรงงาน
ของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) และ บริษัท ซีพีแรม จำกัด
รับผิดชอบในการพัฒนา Application ปัญญาประดิษฐ์ ทำหน้าที่วิเคราะห์ลักษณะทางเคมีของอาหาร ซอฟต์แวร์สามารถเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงส่วนผสมที่ละลายอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหาร โดยจัดเก็บและเรียนรู้ข้อมูลตัวอย่างอาหารชนิดต่างๆ จากเครื่องวัดไฟฟ้าเคมี และนำมาวิเคราะห์ลักษณะทางเคมี ประเภทสารที่ละลายและอัตราส่วนผสมในอาหาร เพื่อนำมาประเมินมาตรฐานคุณภาพและการเสื่อมถอยของอาหาร ในกระบวนการควบคุมคุณภาพการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สัญญาเลขที่ 05-2020-32 (PO20013048) ในนาม บริษัท สยาม แอลฟา เมด จำกัด
รับผิดชอบผลิตเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ พร้อมพัฒนา Application ปัญญาประดิษฐ์สำหรับตรวจวัดมลภาวะทางอากาศ โดยติดตั้งแม่ข่ายข้อมูลบนระบบ Cloud server ผ่านระบบ IoT กับเครื่องตรวจวัดรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าและเหมืองถ่านหินแม่เมาะจังหวัดลำปาง Application ที่พัฒนาขึ้นทำหน้าที่มอนิเตอร์การวิเคราะห์เส้นทางการแพร่กระจายฝุ่น มีโมดูลเรียนรู้สารไอระเหยในอากาศ และนำมาเชื่อมโยงแหล่งที่มาของฝุ่น การเปลี่ยนแปลงและทำนายทิศทางการกระจายและระดับความเป็นไปได้ของตำแหน่งแหล่งกำเนิดฝุ่น พร้อมแจ้งเตือนระดับมลภาวะทางอากาศ แบบ Online Real-time ตลอด 24 ชั่วโมง บน Tablet
นอกจากนั้นมีการจัดเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองในอากาศ และตัวอย่างฝุ่นจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ วิเคราะห์องค์ประกอบเคมีในห้องปฏิบัติการ ใช้องค์ประกอบเคมีในการประเมินสัดส่วนฝุ่นในอากาศตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อระบุว่ามาจากแหล่งกำเนิดใดและมีสัดส่วนเท่าใด รวมทั้งนำข้อมูลไอระเหยต่างๆ และปริมาณฝุ่นมาเรียนรู้เทียบสัดส่วนที่มาของแหล่งกำเนิดที่ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น