.....คงไม่มีใครปฏิเสธถึงบทบาทของการคำนวณที่เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อผลสำฤทธิ์ทั้งต่อการเรียน
การสอน งานวิจัย นวัตกรรม และการสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ ฉลาดที่จะเรียนรู้โดยรู้จักคิด
และวิเคราะห์ โดยทั่วไปบทบาทของการคำนวณมักจะเป็นที่ประจักหรือรู้จักได้โดยผ่านบริบททาง
คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ และสถิติ เป็นหลัก โดยการคำนวณได้พิสูจน์อย่างเป็นที่ประจักตั้งแต่
อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งในฐานะที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือและเป็นหัวรถจักรของปัญหา การพัฒนาระบบการ
พยากรณ์ต่างๆ เช่น สภาวะอากาศหรือน้ำท่วม ระบบโลจิสติกส์ ภาวะสิ่งแวดล้อม การสร้างแบบจำลอง
ซึ่งได้กลายเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากในปัจจุบัน เราคงไม่มีคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงหรือระบบ
เครือข่ายทางอินเทอร์เน็ตหรือออนไลน์ต่างๆใช้กันดังเช่นในปัจจุบันหากเราไม่มีนักคำนวณที่มีคุณภาพ
คอยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบเหล่านี้ให้พวกเรา
.....ด้วยเหตุนี้กลุ่มวิจัยชีวฟิสิกส์ที่มหาวิทยามหิดล (Biophysics Group) ซึ่งได้ตระหนักถึงความสำคัญ
และความจำเป็นของการคำนวณ ประกอบกับศักยภาพของทางกลุ่มวิจัยที่มีบุคลากรที่มีความพร้อม
ทั้งทางด้านองค์ความรู้ ประสบการณ์ที่สามารถจะถ่ายทอดไปสู่ชุมชนโดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา
ที่สนใจ โดยเราเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้าง(Transform)เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการให้มีศักยภาพด้านการ
คำนวณนี้ อันจะเป็นขุมกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมแห่งปัญญาและพัฒนาชาติไทยได้ ดัวยเหตุ
ปัจจัยสำคัญนี้ทางกลุ่มวิจัยชีวฟิสิกส์จึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนานักคำนวณรุ่นเยาว์ขึ้นในปี 2552 ซึ่งต่อมา
ได้ถูกต่อยอดโดยรวมนักชีวฟิสิกส์รุ่นเยาว์เข้าในโครงการด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการค้นหานักคำนวณรุ่นเยาว์
และเจียรนัยเพชรดังกล่าวนี้ให้มีความสามารถและความพร้อมในการพัฒนาประเทศและแข่งขันในเวที
ระดับโลกได้
.....กิจกรรมหลักของโครงการ นอกจากจะพยายามเฟ้นหานักเรียนนักศึกษาที่สนใจและมีความพร้อม
เข้าร่วมโครงการ และทำการสอน อบรม ฝึกฝนโดยนักคำนวณมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการ
ประเมินและนำเสนอผลงานตามความเหมาะสมแล้ว ทางโครงการยังได้พยายามสร้างแนวทางจัด
กิจกรรมต่างๆ เพื่อหาทุนใช้เป็นทุนการศึกษาหรือสนับสนุนด้านการฝึกอบรม นำเสนอผลงาน เป็นต้น
ซึ่งภารกิจเหล่านี้ถือเป็นพันธกิจสำคัญของโครงการอย่างหนึ่งที่ทำให้โครงการสามารถอยู่รอดได้โดย
พึ่งพาจากปัจจัยสนับสนุนจากภายนอกเท่าที่จำเป็น เบื้องต้นนั้นเราได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศ. ดร. ยงค์วิมล เลณบุรี ภาคคณิตศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านงบประมาณ และคำปรึกษาเสนอแนะซึ่งทำให้ทาง
โครงการสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้า และผลิตนักคำนวณรุ่นเยาว์ร่นแรกออกมาได้ |