Introduction

ในปัจจุบัน ระบบเซนเซอร์แบบเส้นใยแก้วนำแสงได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านงานวิจัยและเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเซนเซอร์ชนิดนี้สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า น้ำหนักเบา ขนาดเล็ก และมีการตอบสนองต่อสิ่งรบกวนได้ดี โดยระบบเซนเซอร์แบบเส้นใยแก้วนำแสงได้ถูกนำมาใช้ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของระบบที่ต้องการศึกษา เช่น การรบกวนของแรง อุณหภูมิ ความดัน/คลื่นเสียง กระแสไฟฟ้า/ความต่างศักดิ์ไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีหรือแก๊ส เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เซนเซอร์แบบเส้นใยแก้วนำแสงจะใช้หลักการสร้างโครงสร้างแบบเกรตติ้งลงบนเส้นใยแก้วนำแสง (Fiber gratings) ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบตามลักษณะของเกรตติ้งบนเส้นใยแก้วนำแสง

รูปที่ 1 ประเภทของเกรตติ้งภายในเส้นใยแก้วนำแสง a) Fiber Bragg grating, b) long period fiber grating, c) chirped fiber grating, d) tilted fiber grating, and e) sampled fiber grating.

รูปที่ 1 ประเภทของเกรตติ้งภายในเส้นใยแก้วนำแสง a) Fiber Bragg grating, b) long period fiber grating, c) chirped fiber grating, d) tilted fiber grating, and e) sampled fiber grating.

รูปที่ 1 ประเภทของเกรตติ้งภายในเส้นใยแก้วนำแสง a) Fiber Bragg grating, b) long period fiber grating, c) chirped fiber grating, d) tilted fiber grating, and e) sampled fiber grating.

งานวิจัยปัจจุบันในห้องวิจัย Applied Optics ได้ศึกษาการใช้ระบบเซนเซอร์แบบเส้นใยแก้วนำแสง ชนิดการรบกวนเกรตติ้งเชิงกลแบบคาบยาว (Mechanically induced Long period fiber grating structure) ในการตรวจวัดการกระจายตัวของความดันฝ่าเท้าทางการแพทย์ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการเดิน และป้องกันความเสียหายของฝ่าเท้าที่อาจจะเกิดจากการออกแรงกดเกินความจำเป็นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

Suggestion References

  • Optoelectronics & Photonics 2nd Edition, S.O.Kasap
  • Optics 4th Edition, Eugene Hecht
  • Review of the present status of optical fiber sensors, Optical fiber technology, B Lee, 2003
  • Optical fibre long-period grating sensors: characteristics and application, S W James and R P Tatam, Measurement Science and Technology, 2003

Fundamental knowledge

  • Optics and Optoelectronic
  • Electromagnetic wave in a waveguide
  • Optical fiber grating
  • Diabetic disease

บุคคลที่เกี่ยวข้อง